#Punphol101 ซื้อบ้านเพื่อลูก ผ่อนบ้าน 3 ล้านบาทยังไง ให้ประหยัดดอกเบี้ย 1 ล้านบาท?
หรือรู้ไม่ รู้หรือไม่ กู้เงินต้น 3 ล้านบาท ต้องจ่ายดอกเบี้ยอีก 3.4 ล้านบาท !!!
เงินที่เราผ่อนบ้านไปแต่ละเดือนส่วนไม่น้อยเลยที่ถูกนำไปจ่ายส่วนที่เป็นดอกเบี้ย และส่วนที่เหลือถึงจะนำไปหักเงินต้น หลายคนบอกว่า “ผ่อนมาตั้งนาน เงินต้นยังเหลือบานเกือบเท่าเดิม”
เหตุผลเป็นเพราะอะไร แล้วผ่อนบ้าน 3 ล้านบาทยังไง ให้ประหยัดดอกเบี้ย 1 ล้านบาท?
โพสต์นี้จะมาแชร์ พร้อมลิงก์โปรแกรมคำนวณเงินกู้มาฝากกันค่ะ
#ดอกเบี้ยบ้าน #โปะบ้าน #Punphol101
ปัจจัยที่มีผลต่อการคำนวณดอกเบี้ย
สูตรคำนวณดอกเบี้ยบ้านในแต่ละงวด
เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x (จำนวนวันในงวด / จำนวนวันใน 1 ปี)
เงินต้นคงเหลือ, อัตราดอกเบี้ยต่อปี: ยิ่งน้อยยิ่งดี ทำให้ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายน้อยลง
จำนวนวันในงวด: 30 หรือ 31 วัน
จำนวนวันใน 1 ปี: ขึ้นอยู่กับที่สถาบันการเงินกำหนดอาจจะเป็น 360 วัน 365 วัน หรือ 366 วัน
1. ลด เงินต้นคงเหลือ ยังไงได้บ้าง?
การผ่อนบ้านเป็นการ ผ่อนแบบลดต้นลดดอก หรือ Effective rate
เงินที่เราผ่อนชำระในแต่ละงวด จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือไปชำระดอกเบี้ย และไปหักลดเงินต้น ทำให้เงินต้นคงเหลือค่อย ๆ ลดเหลือ นั่นหมายความว่า ในงวดถัดไปเราก็จ่ายดอกเบี้ยลดลง
เราสามารถล เงินต้นคงเหลือให้หมดเร็วขึ้นได้ โดยการผ่อนมากกว่าค่างวดที่สถาบันการเงินกำหนด หรือที่คนชอบพูดว่า โปะค่าบ้าน โดยสามารถโปะไปเรื่อย ๆ ทุกเดือน หรือจะโปะเป็นเงินก้อนก็ได้
การผ่อนรถ จะเป็นแบบอัตราคงที่ หรือ Fixed rate หมายความว่าเราจะต้องเสียดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลาที่ต้องผ่อนชำระ แม้ว่าเราจะเอาเงินไปโปะเพิ่ม ก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมดที่ถูกคำนวณไว้แล้วเท่าเดิม
2. ลด อัตราดอกเบี้ยต่อปี ยังไงได้บ้าง?
แน่นอนว่าตอนเราจะกู้คงเสาะหาสถาบันการเงินที่ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่ และเหมาะสมกับเราที่สุดอยู่แล้ว
แต่หลังจากเริ่มผ่อนไปได้ซักระยะ (ส่วนใหญ่อย่างน้อย 3 ปี) เราสามารถพิจารณา 2 วิธีนี้ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยได้
A . Refinance คือการไปขอยื่นกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารแห่งใหม่ เพื่อลดดอกเบี้ยบ้านให้ต่ำลง และช่วยให้ยอดผ่อนต่อเดือนให้น้อยลง (พูดง่าย ๆ คือเปลี่ยนเจ้าหนี้นั่นเอง)
B. Retention คือการขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิม (เจรจากับเจ้าหนี้ปัจจุบัน) วิธีนี้วุ่นวายน้อยกว่าเพราะไม่ต้องเตรียมเอกสารทำเรื่องกับเจ้าหนี้ใหม่ แต่ว่าก็อาจจะไม่ได้ดีลที่ดีเท่ากับการ refinance
3. จ่ายหนี้ให้ตรงเวลา
ความน่าเชื่อถือและการรักษาเครดิตของเราเอง ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการกู้เงิน ซึ่งหนึ่งปัจจัยที่สถาบันการเงินใช้ในการพิจารณาก็คือ ประวัติการผ่อนชำระ ถ้าเราเป็นลูกหนี้ที่ดี จ่ายตรงเวลา ก็จะได้เงื่อนไขการกู้ที่ดีไปด้วย
และที่สำคัญถ้าจ่ายไม่ตรงเวลา จะโดนคิดเงิน “ค่าปรับ” ซึ่งคิดเป็นรายวันเลย เท่ากับว่ามีภาระงอกขึ้นมาอีกโดยไม่จำเป็น
ดอกเบี้ยบ้านที่ต้องจ่าย เยอะแค่ไหน?
มาลองคำนวณให้เห็นชัด ๆ
สมมุติว่า เรากู้ซื้อบ้าน 3 ล้านบาท ดอกเบี้ย 6% ต่อปี ผ่อนเป็นระยะเวลา 30 ปี
แต่ที่น่าตกใจคือ …..
กู้เงินต้น 3 ล้านบาท ต้องจ่ายดอกเบี้ยอีก 3.4 ล้านบาท
ลดเงินต้นคงเหลือ: จ่ายเพิ่มเดือนละ 2,500 บาท ประหยัดดอกเบี้ยไป 1,063,565 บาท ปลดหนี้ได้เร็วขึ้น 95 เดือน หรือ 7 ปี 11 เดือน
ลดอัตราดอกเบี้ยต่อปี: ลดลงเพียง 2% จาก 6% เหลือ 4% ประหยัดดอกเบี้ยไป 1,319,058 บาท ใช้เวลาผ่อน 30 ปีเท่าเดิม
เปรียบเทียบในมุมมองระยะเวลา
สรุป 5 ข้อที่ควรรู้
ดีที่สุดคือลดเงินต้นคงเหลือให้เร็ว และกู้ด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำ แต่ความเป็นจริงอาจจะไม่ได้ง่ายแบบนั้น
1. พยายามโปะเงินต้นเพื่อลดเงินต้นให้เร็วที่สุด แต่ !! ต้องไม่ทำให้เงินสดหมุนเวียนสะดุดจนขาดผ่อนค่างวด เพราะจะโดนค่าปรับวุ่นวายไปอีก (โปะเท่าที่ไหว อาจจะโปะเพิ่มเติมจากค่างวดประมาณ 10-15%)
2. ขอ Refinance หรือ retention เมื่อสามารถทำได้ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
3. ชำระค่างวดให้ตรงเวลา เพื่อไม่ให้เกิดค่าปรับเพิ่มเติมงอกขึ้นมาอีก
4. โปะทุก ๆ เดือนดีกว่าโปะก้อนใหญ่ปีละครั้ง เพราะเมื่อเงินต้นคงเหลือลดลงทุกเดือน ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนก็ลดลงด้วย แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ โปะได้ตอนโบนัสออกเท่านั้น ก็ไม่เป็นไร โปะไหวแบบไหน ก็ตามนั้น
5. ถ้าอัตราดอกเบี้ยเท่ากัน เลือกผ่อนนาน ๆ ไว้ก่อน เพื่อลดภาระที่ต้องผ่อนในแต่ละเดือน แล้วถ้าเงินเหลือก็รีบเอามาโปะ
ดีที่สุดคือ เราควรกันเงินสำรองไว้ซัก 1 ก้อน เผื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น จะได้ยังมีเงินสำรองเอามาผ่อนค่าบ้าน ไม่โดนปรับ ไม่โดนยึด
โปรแกรมคำนวณเงินกู้ ของธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.bot.or.th/th/satang-story/financial-tools/loans-tools.html
โปรแกรมคำนวณเงินกู้ ของธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.bot.or.th/th/satang-story/financial-tools/loans-tools.html
โปรแกรมคำนวณเงินกู้ ของธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.bot.or.th/th/satang-story/financial-tools/loans-tools.html
มาโปะบ้านกันเถอะค่ะ
Ep.1 ค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้ ก่อนซื้อกองทุน
https://bit.ly/Ep01_Fundfee
Ep.2 อ่านหนังสือชี้ชวน แบบง่ายนิดเดียว (Fund Fact Sheet)
https://bit.ly/Ep02_FundFactSheet
Ep.3 NAV ต่ำแปลว่าถูก สูงแปลว่าแพง?
Ep.4 รวบรวมบัญชี e-savings ดอกเบี้ยสูงที่ต้องมี สู้เงินเฟ้อ
Ep.5 รวบรวม “กองทุนทุกประเภท” ที่ควรรู้