5 หลักการบริหารระดับโลกที่ควรรู้

454

5 หลักการบริหารเงินระดับโลก ที่ใคร ๆ ก็ทำได้

3 เหตุผลทำไมต้องจัดเงินเป็นสัดส่วน?

 

1. ช่วยให้บริหารเงินได้ง่ายขึ้น ไม่พลาดเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งในชีวิต

 

2. วางแผนชีวิตให้ชีวิตมีความมั่นคง ไม่ตื่นตระหนกเกินไปถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ตกงาน เจ็บป่วย หรือวิกฤตเศรษฐกิจ 

 

3. ทำให้เราไม่ใช้จ่ายเกินตัว มีเงินไปลงทุน หาประสบการณ์ใหม่ ๆ ทำให้เราไม่พลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิต

1) ลี กาชิง

 

ลี กาชิง มหาเศรษฐีฮ่องกงที่รวยเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เป็นเจ้าของธุรกิจมากมาย ทั้งอสังหาริมทรัพย์ ท่าเรือ

การสื่อสารโทรคมนาคม พลังงาน และธุรกิจอื่น ๆ  

 

หลักการบริหารเงิน 

 

ส่วนที่ 1: ค่าใช้จ่ายชีวิตประจำวัน 30%
ใช้ดำรงชีพ เช่น ค่าอาหาร ที่พักอาศัย ค่าเดินทาง 

 

ส่วนที่ 2: เงินสำหรับสร้างเพื่อนใหม่ 20%
ทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ต่อยอดอนาคต 

 

ส่วนที่ 3: การเรียน การศึกษา 15%
เช่น ซื้อหนังสือ หรือลงเรียนคอร์สต่าง ๆ เพราะความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา อย่าหยุดเรียนรู้

ส่วนที่ 4: ซื้อความสุขให้ชีวิต 10%
เช่น ออกไปท่องเที่ยว จะช่วยเปิดโลกกว้าง และช่วยชาร์จพลังได้ 


ส่วนที่ 5: เก็บออมและลงทุน 25% 
ลงทุนต่อยอดความมั่งคั่งในสินทรัพย์ต่าง ๆ หรือเริ่มทำธุรกิจเล็ก ๆ แต่ถ้าขาดทุนถือเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้ตัวเอง

2) จอห์น ดี. ร็อกกี้เฟลเลอร์

 

จอห์น ดี. ร็อกกี้เฟลเลอร์ เศรษฐีผู้ใจุบญชาวอเมริกันที่รวยที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งอเมริกา เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทน้ำมัน Standard Oil

ควบคุมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันได้เกือบ 90% ของประเทศ

 

ได้ฉายาว่าเป็น เศรษฐีใจบุญที่ร่ำรวยที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

 

หลักการบริหารเงิน 

 

-80% เพื่อใช้ในส่วนที่ตัวเองอยากใช้

 

-10% เพื่อออมไว้ใช้สร้างอนาคต

 

-10% เพื่อบริจาคการกุศล

3) 6 Jars 

 

แนวคิดของ T.Harv Eker นักวิทยาการเจ้าของหนังสือขายดี “ถอดรหัสลับสมองเงินล้าน” (Secrets of the Millionaire Mind)

โดยใช้เทคนิคจัดสรรเงินเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการพลิกชีวิตตัวเองจนกลายเป็นเศรษฐี

 

หลักการบริหารเงิน


โหลที่ 1 ค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน 55%

 

โหลที่ 2 ให้รางวัลตัวเอง 10%

 

โหลที่ 3 ลงทุนให้เงินงอกเงย 10%

 

โหลที่ 4 การศึกษา พัฒนาตัวเอง 10%

 

โหลที่ 5 เตรียมไว้เผื่ออนาคต เช่น ดาวน์บ้าน ค่าเล่าเรียนลูก 10%

 

โหลที่ 6 ให้ของขวัญคนที่รัก บริจาค 5%

4) ถัง 3 ใบ

 

หลักการบริหารเงิน

 

ถังใบที่ 1 ถังสภาพคล่อง

 

ใส่เงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวเพื่อการดำรงชีพอย่างน้อย 2 ปี เช่น มีรายจ่ายเดือนละ 20,000 บาท ถังใบแรกต้องมีเงิน 480,000 บาท

เพื่อการันตีว่าหากเราไม่มีรายได้ ก็จะมีเงินเพียงพอกับการดำรงชีวิตอยู่ได้อีก 2 ปี

 

เน้นสภาพคล่องสูง ยังไม่หวังผลตอบแทน  อาจเก็บไว้ในบัญชีเงินสดที่มีความเสี่ยงต่ำ กองทุนรวมตลาดเงิน 

 

ถังใบที่ 2 ถังเสี่ยงต่ำ-ปานกลาง 

 

จุดประสงค์ของถังใบนี้คือมีหน้าที่คอยเติมเงินลงในถังใบแรกให้มีเงินเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายอย่างน้อย 2 ปีอยู่เสมอ 

 

เน้นลงทุนโดยหวังผลตอบแทน 2-3% ต่อปี ระยะกลางประมาณ 3-5 ปี อาจลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีปันผล และความเสี่ยงไม่สูง

เช่น หุ้นกู้ที่มีอันดับเครดิตดี กองทุนรวมตราสารหนี้ 

 

ถังใบที่ 3 ถังเสี่ยงสูง 

 

เพื่อการลงทุนระยะยาวและสามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้นกว่าเดิม โดยจะต้องเป็นเงินที่เราสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ 5 ปีขึ้นไป

โดยจุดประสงค์ของถังใบที่สามนี้เพื่อให้มีผลตอบแทนไปเติมเงินถังใบที่ 1 และ 2 ไปเรื่อย ๆ 

 

เน้นลงทุนหวังผลตอบแทน 8-10%  สินทรัพย์ลงทุนเช่น กองทุนรวมหุ้น หุ้นปันผล ทองคำ สินทรัพย์ทางเลือกต่าง ๆ 

5) สูตรบริหารเงิน 50-30-20

 

คิดค้นโดย เอลิซาเบ็ธ วอร์เร็น (Elizabeth Warren) นักวิชาการและนักการเมืองชาวสหรัฐอเมริกา ที่ได้เสนอแนวคิดในการจัดสรรเงิน

ไว้ในหนังสือชื่อ All Your Worth: The Ultimate Lifetime Money Plan 

 

หลักการบริหารเงิน

 

50% NEEDS สำหรับค่าใช้จ่ายชีวิตประจำวัน เช่น ค่าเช่าคอนโด ค่าอาหาร ค่าของใช้จำเป็น 

 

30% WANTS สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างความสุขให้ตัวเอง เช่น ไปเที่ยว ซื้อของที่อยากได้  

 

20% SAVINGS สำหรับเก็บออมและลงทุน ทั้งเก็บเป็นเงินฉุกเฉิน และลงทุนสร้างผลตอบแทนในระยะยาว 

#เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต⁣

ติดตามทั้ง 15 ช่องทางของถามอีก กับอิก Tam-Eig ได้ทางลิงค์นี้⁣

 

https://links.tam-eig.com/m/TAM-EIG-Channels

 

Picture of Vareeporn N.

Vareeporn N.

454