อัตราดอกเบี้ย “คงที่ vs. ลอยตัว” แบบไหนดีกว่ากัน?

546

อัตราดอกเบี้ย “คงที่ vs. ลอยตัว” แบบไหนดีกว่ากัน?

ความหมายของอัตราดอกเบี้ย “คงที่ & ลอยตัว”

 

อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat rate)

คือ อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกำหนดไว้โดยเฉพาะ ไม่มีการปรับขึ้นลงในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

 

อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate)

คือ อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดไว้เฉพาะเจาะจงว่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ไปตลอด ซึ่งจะสามารถขึ้นลงได้ตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

 

Note:

อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

คือ อัตราดอกเบี้ยที่ใช้อ้างอิงถึงในสัญญาทางการเงิน กรณีเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว โดยจะเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะตลาด ซึ่งอัตราดอกเบี้ยลอยตัวจะปรับขึ้นลงในทิศทางเดียวกัน เช่น อัตราดอกเบี้ยลอยตัว = MRR +2%

ถ้ากู้เงิน ดอกเบี้ยแบบไหนดีกว่า?

 

เรากู้เงินจากสถาบันการเงิน เราจึงต้อง “จ่ายดอกเบี้ย” ให้สถาบันการเงิน 

 

ถ้ากู้ด้วยดอกเบี้ยแบบลอยตัว

 

ถ้าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

ปรับเพิ่มขึ้น

ถ้าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

ปรับลดลง

– เสียดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น

 

– ยอดผ่อนต่อเดือนไม่เพิ่มขึ้น แต่จะตัดชำระส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้น ตัดเงินต้นน้อยลง

 

– ใช้เวลานาน ถึงจะผ่อนคืนเงินต้นครบ

– เสียดอกเบี้ยน้อยลง

 

– ยอดผ่อนต่อเดือนเท่าเดิม แต่จะตัดชำระส่วนของดอกเบี้ยน้อยลง ตัดเงินต้นได้มากขึ้น 

 

– ใช้เวลาสั้นลง ในการผ่อนคืนเงินต้นครบ

ถ้ากู้เงิน ดอกเบี้ยแบบไหนดีกว่า?

 

ถ้ากู้ด้วยดอกเบี้ยแบบคงที่

 

ถ้าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

ปรับเพิ่มขึ้น

ถ้าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

ปรับลดลง

– เสียดอกเบี้ยเท่าเดิม ไม่ปรับขึ้นตาม

 

– รู้สึกดี เพราะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่ ต่ำกว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

 

– ระยะเวลาการผ่อนเท่าเดิม

– เสียดอกเบี้ยเท่าเดิม ไม่ปรับขึ้นตาม

 

– รู้สึกเซ็ง เพราะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่ สูงกว่า อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

 

– ระยะเวลาการผ่อนเท่าเดิม

สรุป 

 

– การตัดสินใจเลือกประเภทดอกเบี้ยเงินกู้ ขึ้นอยู่กับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย แนวโน้มเศรษฐกิจ 

 

– ถ้าอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น = อัตราดอกเบี้ยมักจะปรับสูงขึ้นเพราะเศรษฐกิจคล่องตัว ควรเลือก อัตราดอกเบี้ยคงที่

 

– ถ้าอยู่ในช่วงเศรษฐกิจซบเซา =  มักจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยบ้านลดลง เราควรเลือก อัตราดอกเบี้ยลอยตัว

ถ้าซื้อหุ้นกู้ / ฝากเงิน ดอกเบี้ยแบบไหนดีกว่า?

 

การซื้อหุ้นกู้ หรือการฝากเงินได้รับ “ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย” ตามงวดที่กำหนด

 

อัตราดอกเบี้ยคงที่ 

(Fixed Rate) 

อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate)

– ไม่มีโอกาสได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้าดอกเบี้ยเป็นขาลง เราก็ยังได้ดอกเบี้ยเท่าเดิม 

– ถ้าดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น เราก็จะมีโอกาสได้ดอกเบี้ยมากขึ้นด้วย แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยเป็นขาลง เราก็จะได้ดอกเบี้ยน้อยลงด้วยเช่นกัน

สรุป 

 

ถ้าเราอยู่ในช่วงเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดี หรือเศรษฐกิจขาขึ้น จะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยมักจะปรับสูงขึ้นเพราะเศรษฐกิจคล่องตัว

เราควรเลือก อัตราดอกเบี้ยลอยตัว 

 

ถ้าเราอยู่ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ดูซบเซาขา มักจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลดลง เราจึงควรเลือก อัตราดอกเบี้ยคงที่

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ควรรู้

 

MRR (Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ย ที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี สำหรับเงินกู้ทุกประเภทที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน

 

MLR (Minimum Loan Rate) อัตราดอกเบี้ย ที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี สำหรับประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา

 

MOR (Minimum Overdraft Rate) อัตราดอกเบี้ย ที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี สำหรับประเภทเงินเบิกเกินบัญชี หรือการเบิกเงินทางโอดี

 

Note:

– ส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงที่สุด รองมาคือ MOR และ MLR ตามลำดับ ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR จะเป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย

 

– อัตราดอกเบี้ย MRR MOR และ MLR ของแต่ละธนาคารไม่จำเป็นต้องเท่ากัน เนื่องจากต้นทุนของแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน

#เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต⁣

ติดตามทั้ง 15 ช่องทางของถามอีก กับอิก Tam-Eig ได้ทางลิงค์นี้⁣

 

https://links.tam-eig.com/m/TAM-EIG-Channels

Picture of Vareeporn N.

Vareeporn N.

546