อ่านหนังสือชี้ชวน แบบง่ายนิดเดียว

926

Ep.2 อ่านหนังสือชี้ชวน แบบง่ายนิดเดียว #Punphol101⁣⁣
⁣⁣
#ป๊าอิก สอน #น้องปันผล จด :)⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
#ทุกเรื่องที่นักลงทุนต้องรู้ #tameig ⁣⁣⁣
⁣⁣
————⁣⁣
⁣⁣
Ep.1 ค่าธรรมเนียมที่ต้องรู้ ก่อนซื้อกองทุน https://bit.ly/39qZ4CK

หนังสือชี้ชวนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet) เป็นข้อมูลกองทุนแบบสรุปให้กระชับมากขึ้น ให้ผู้ลงทุนอ่านได้ง่ายขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 7 ข้อหลัก ๆ ⁣

1. คุณกำลังจะลงทุนอะไร?⁣
2. กองทุนรวมนี้เหมาะกับใคร?⁣
3. ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ?⁣
4. สัดส่วนของประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน⁣
5. ค่าธรรมเนียม⁣
6. ผลการดำเนินงาน⁣
7. ข้อมูลอื่นๆ

1. คุณกำลังจะลงทุนอะไร?⁣

Active vs. Passive ต่างกันยังไง?⁣
กลยุทธ์เชิงรุก (Active): ผู้จัดการกองทุนมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนให้ “ชนะ” ดัชนีมาตรฐาน (Benchmark) จำง่าย ๆ ว่าอยากเอาชนะ เราก็ต้อง active หน่อย⁣
กลยุทธ์เชิงรับ (Passive): ผู้จัดการกองทุนมีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนให้ “ใกล้เคียงกับดัชนีมาตรฐาน (Benchmark) ให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้” ⁣

* เพราะฉะนั้น กองทุนที่บริหารแบบ passive จะมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า active⁣

Feeder Fund vs. Fund of funds⁣

– Feeder Fund: กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมในต่างประเทศเพียงกองเดียว โดยเรียกกองทุนนั้นว่ากองทุนหลัก (Master Fund)⁣
– Fund of Funds: กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศหลาย ๆ กอง ซึ่งอาจมีนโยบายที่คล้ายกันหรือต่างกันก็ได้

2. กองทุนรวมนี้เหมาะกับใคร?⁣

ข้อนี้จะให้ข้อมูลเพื่อให้เราประเมินตัวเอง ว่ากองทุนนี้เหมาะกับเราหรือไม่⁣

Key word สำคัญ ๆ ว่ากองทุนนี้เหมาะกับใคร เช่น รับความผันผวนได้หรือไม่ สามารถลงทุนระยะกลางถึงยาวได้หรือไม่⁣

กองทุนนี้ไม่เหมาะกับใคร เช่น⁣

– ผู้ลงทุนที่เน้นการได้รับผลตอบแทนในจำนวนเงินที่แน่นนอน หรือรักษาเงินต้นให้อยู่ครบ หรือแปลว่าการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดผลขาดทุนได้

3. ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ?⁣

ในข้อนี้แต่ละกองทุนจะค่อนข้างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละกองทุน บางกองทุนมีการเตือนลักษณะพิเศษ เช่น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non – investment grade) และ⁣ตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated) รวมทั้งตราสารทุนที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์⁣
(Unlisted Securities) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นมากกว่ากองทุนรวมทั่วไป ซึ่งถ้าน้องปันผลอ่านแล้วมีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามทางตัวแทนจำหน่ายได้

ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ⁣

นอกจากนี้ ในข้อนี้จะมีแผนภาพแสดงตำแหน่งความเสี่ยงของกองทุนรวม โดยแบ่งออกเป็น 8 ระดับ โดย 1 คือระดับความเสี่ยงต่ำ และระดับ 8 คือความเสี่ยงสูงมาก (8+ สูงมากอย่างมีนัยสำคัญ) ⁣

เช่น ระดับความเสี่ยงที่รับได้ของเราอยู่ที่ระดับ 5 แสดงว่าสามารถลงทุนในกองทุนที่มีระดับคะแนนตั้งแต่ 1 – 5 และถ้าต้องการลงทุนความเสี่ยงตั้งระดับ 6 ขึ้นไป แสดงว่าจะลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงเกินกว่าความสามารถในการรับความเสี่ยงของเรา⁣

โดยระดับความเสี่ยงนี้จะได้จากการทำแบบประเมินความเสี่ยง

3. ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ?⁣

ความเสี่ยงระดับที่ 1 กองทุนรวมตลาดเงินในประเทศ⁣
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในเงินฝาก ตั๋วเงิน รวมถึงตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี มีความเสี่ยงต่ำที่สุด เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการความเสี่ยง หรือผู้ที่ต้องการพักเงินในช่วงที่ผลตอบแทนไม่ดี⁣

ความเสี่ยงระดับที่ 2 กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ⁣
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในเงินฝาก ตั๋วเงิน รวมถึงตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี เหมือนกลุ่มแรก แต่อาจมีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน จึงทำให้มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นมา แต่โดยปกติกองทุนประเภทนี้มักจะมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้⁣

ความเสี่ยงระดับที่ 3 กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล⁣
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอายุเฉลี่ยมากกว่า 1 ปีขึ้นไป จึงมีความผันผวนมากกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน⁣

ความเสี่ยงระดับที่ 4 กองทุนรวมตราสารหนี้⁣
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตั๋วเงินคลัง และหุ้นกู้เอกชน ซึ่งมีทั้งกองที่ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี) และตราสารหนี้ระยะยาว (อายุเฉลี่ยมากกว่า 1 ปี) จึงเหมาะกับผู้ที่ลงทุนได้ทั้งระยะสั้น ระยะยาว และผู้ที่รับความเสี่ยงได้ไม่มาก คาดหวังผลตอบแทนที่แน่นอน สม่ำเสมอ รวมถึงผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน⁣

ความเสี่ยงระดับที่ 5 กองทุนรวมผสม⁣
เป็นกองทุนที่สามารถลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก ตราสารหนี้ หุ้น หรืออื่นๆ ซึ่งสัดส่วนการลงทุนจะลงทุนในอะไรมากกว่ากัน ก็ต้องไปดูในนโยบายการลงทุนของกองทุน เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงสูง และผู้ที่ไม่มีเวลาในการปรับสัดส่วนกองทุนหรือหุ้น หากตลาดมีความผันผวนมาก⁣

ความเสี่ยงระดับที่ 6 กองทุนรวมตราสารทุน⁣
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งกองทุนประเภทนี้หมายความรวมไปถึงกองทุน SSF และ RMF ที่เราคุ้นเคยกันดีด้วย เหมาะกับผู้ที่ต้องการผลตอบแทนสูงและรับความเสี่ยงได้สูง หรือผู้ที่ชอบการลงทุนในหุ้น แต่ไม่มีเวลาบริหารการลงทุน⁣

ความเสี่ยงระดับที่ 7 กองทุนรวมตามหมวดอุตสาหกรรม⁣
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น แต่เจาะจงอุตสาหกรรมมากขึ้น เช่น หุ้นธนาคาร หุ้นสื่อสาร หุ้นโรงพยาบาล ฯลฯ แต่กองทุนประเภทนี้จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากองทุนรวมตราสารทุนทั่วไป เนื่องจากมีการลงทุนแบบกระจุกตัว จึงเหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง และมีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้นๆ อย่างดี⁣


ความเสี่ยงระดับที่ 8 กองทุนรวมทางเลือก⁣
เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในทางเลือกอื่นๆ ที่นอกเหนือจากสินทรัพย์พื้นฐาน เช่น ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง และผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม แต่อาจต้องศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกนั้นๆ มากยิ่งขึ้น⁣

ที่มา: setinvestnow.com⁣

3. ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ?⁣

ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ: ส่วนนี้จะบอกถึงความเสี่ยงในเชิงตัวเลข โดยส่วนใหญ่จะมี 3 หัวข้อหลัก ๆ ⁣

ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุน (Market Risk) คือ ความเสี่ยงที่มูลค่าหลักทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากผลตอบแทนเฉลี่ย ดูจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน (SD) แบ่งเป็น 5 ช่วง ถ้าค่า SD สูง แปลว่าราคามีความผันผวนสูง⁣

2. ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว (High Concentration Risk) ดู 3 ส่วน⁣

3. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Risk) ⁣
บอกถึงนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (กรณีเป็นกองทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศ) ซึ่งเป้าหมายเพื่อช่วยลดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ตัวอย่างที่ยกมานี้ มีการป้องกันความเสี่ยงซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกอง

4. สัดส่วนของประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน 

ส่วนใหญ่จะบอกสัดส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงทุน สัดส่วนหลักทรัพย์หรือตราสารที่ไปลงทุน และทรัพย์สินที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกว่ามีอะไรบ้าง โดยมีหน่วยเป็น % ของ NAV

ทรัพย์สินที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก จะช่วยให้เห็นมุมมองผู้จัดการลงทุน ว่าตรงกับเราหรือไม่

5. ค่าธรรมเนียม แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก⁣⁣
⁣⁣
ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมกองทุน https://bit.ly/39qZ4CK⁣⁣
⁣⁣
5.1 ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าซื้อขายกองทุน⁣⁣
⁣⁣
ค่าธรรมเนียมขาย (Front-end fee)⁣⁣
ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back-end fee)⁣⁣
ค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยนเข้า (Switching-in) ⁣⁣
ค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยนออก (Switching-out)⁣⁣
ค่าธรรมเนียมการโอน (Transfer fee)⁣⁣
ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อมีการซื้อ ขาย สับเปลี่ยน (Transaction fee)⁣⁣
⁣⁣
5.2 ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม⁣⁣
⁣⁣
-คิดเป็นเปอร์เซ็น (%) จากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ไม่ว่ากองทุนจะกำไรหรือขาดทุน⁣⁣
-หารต่อวัน และมีการหักจ่ายทุกวัน⁣⁣
-ค่าธรรมเนียมสูงสุด vs. ค่าธรรมเนียมคิดจริง: ⁣⁣
กองทุนจะมีกำหนดค่าธรรมเนียมสูงสุดที่จัดเก็บได้ แต่ส่วนใหญ่จะคิดจริงน้อยกว่า⁣⁣
⁣⁣
– ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee)⁣⁣
– ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee)⁣⁣
– ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน (Registrar Fee)⁣⁣
– ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ⁣⁣

6. ผลการดำเนินงาน⁣⁣
⁣⁣
แสดงผลการดำเนินงานย้อนหลังที่ผ่านมาของกองทุนรวมเทียบกับดัชนีชี้วัด (Benchmark) โดยมี 2 แบบ คือ แบบย้อนหลังตามปีปฎิทิน และแบบปักหมุด ซึ่งจะแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุน ซึ่งข้อมูลตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปนั้นจะเป็น % ผลตอบแทนต่อปี⁣⁣
⁣⁣
แบบย้อนหลังตามปีปฎิทิน: เปรียบเทียบตามเวลาปีปฎิทิน⁣⁣
⁣⁣
ผลการดำเนินงานย้อนหลังแบบปักหมุด: คำนวณนับจากวันที่ที่บอกไว้ใน Fund Fact Sheet เช่น 31 พฤษภาคม ก็จะนับถอยหลังไป 3 เดือนคือ มีนาคม-พฤษภคม⁣⁣
⁣⁣
กองทุนนี้เคยขาดทุนสูงสุดในช่วงเวลา 5 ปีเท่าไร: เพื่อดูว่าช่วงเวลาที่เคยขาดทุนแบบหนัก ๆ ติดลบไปมากแค่ไหน เรารับได้หรือไม่ (สำหรับกองทุนที่จัดตั้งไม่ถึง 5 ปี จะเป็นผลขาดทุนนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน)⁣⁣
⁣⁣
ความผันผวนของการดำเนินงาน (standard deviation) ว่าผลการดำเนินงานในอดีตมีการแกว่งตัวจากผลการดำเนินงาน เฉลี่ยในทางบวกและทางลบมากน้อยเพียงใด >> อยู่ใน range ความเสี่ยง⁣⁣
⁣⁣
Percentile เปรียบเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกัน percentile ยิ่งน้อยแสดงว่ายิ่งเก่ง⁣⁣

7. ข้อมูลอื่นๆ⁣

– ส่วนสุดท้ายนี้ จะบอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขาย เช่น ⁣
– ขนาดกองทุน และมูลค่าหน่วยลงทุน⁣
– นโยบายการจ่ายปันผล⁣
– วันที่จดทะเบียน / เปิดขายหน่วยลงทุน⁣
สามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวันหรือไม่ (น้องปันผลอย่าลืมดูนะคะ เพราะบางกองทุนไม่ได้ซื้อขายได้ทุกวัน หรือช่วงเวลาทำการ)⁣
– มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก และครั้งถัดไป⁣
– รายชื่อผู้จัดการกองทุน⁣
– สามารถติดต่อสอบถามได้ทางช่องทางไหน⁣

#เริ่มต้นวันนี้ดีที่สุด ขอให้ทุกท่านโชคดีและมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต

อิสรภาพชีวิต !! อยู่ไหนก็ไม่พลาด อย่าลืมกดติดตามนะครับ หรือเพิ่มช่องทางการสื่อสารได้เลย

ส่งข่าวสารถึงมือผ่าน คลิกเลย

#ถ้าไม่อยากพลาดแนวคิดการลงทุนและไอเดียการลงทุนดี ๆ อย่าลืมกด subscribe และ กดกระดิ่งนะครับ คลิกเลย

Picture of Vareeporn N.

Vareeporn N.

926